วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

รัฐสภาไทย











รัฐสภา

รัฐสภาไทย ในประเทศไทย รัฐสภา เป็นสถาบันที่พระมหากษัตริย์พระราชทานอำนาจให้เป็นผู้ออกกฎหมาย สำหรับการปกครองและการบริหารประเทศ ซึ่งเรียกว่า อำนาจนิติบัญญัติ รัฐสภาจะประกอบด้วยสภาเดียวหรือสองสภา ย่อมแล้วแต่บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบัญญัติให้รัฐสภาประกอบด้วยวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะประชุมร่วมกันหรือแยกกันตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภาโดยตำแหน่ง




รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์ นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา



ต่อมาเมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากร ที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน




ในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้ทรงพระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย




สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือ



หลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง
หลัง ที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา
หลัง ที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา




ห้องประชุมรัฐสภา เริ่มใช้ประชุมครั้งแรก เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 ประชุม 3 อย่าง คือ

1. การประชุมวุฒิสภา
2. การประชุมสภาผู้แทนราษฎร
3. การประชุมร่วมกันของรัฐสภา (วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร)





ที่นั่งสำคัญ ๆ

ประธาน : ที่นั่งตรงกลาง
รองประธานคนที่ 1 : ที่นั่งขวามือของประธาน
รอง ประธานคนที่ 2 : ที่นั่งซ้ายมือของประธาน
นายกรัฐมนตรี : ที่นั่งแรกของแถวบนขวามือของประธาน
คณะรัฐมนตรี : ที่นั่ง 2 แถวขวามือของประธานถัดจากนายกรัฐมนตรี
คณะกรรมาธิการ : ที่นั่ง 2 แถวซ้ายมือของประธาน
เลขาธิการและรองเลขาธิการ : ที่นั่งถัดจากประธานลงมาในชั้นที่ 2
ที่นั่งของสมาชิก





การจัดที่นั่งในการประชุม
- การประชุมวุฒิสภา สมาชิกจะนั่งเรียงตามลักษณะชื่อที่จัดไว้แล้ว

- การประชุมสภาผู้แทนราษฎร พรรคร่วมรัฐบาลนั่งซีกขวามือของประธาน พรรคฝ่ายค้านที่นั่งซีกซ้ายมือของ ประธาน

- การประชุมร่วมกันของรัฐสภา สมาชิกวุฒิสภานั่งซีกขวามือของประธาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นั่งซีกซ้าย มือของประธาน

ที่นั่งของประชาชน ที่นั่งการประชุม
- ในวันที่มีการประชุมสภา ประชาชนทั่วไป นักเรียน นิสิต นักศึกษา สามารถขออนุญาตและเข้าฟังการประชุมสภา โดยจัดให้นั่งที่ชั้นลอยด้านหลัง มีจำนวนทั้งหมด 145 ที่นั่ง


ที่ นั่งของสื่อมวลชน
- บนชั้นลอยด้านซ้ายมือของประชาชน อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้ามาทำข่าวฉบับ / แห่งละ 2 คน (ข่าวภาพ 1 คน ผู้สื่อข่าว 1 คน)













อำนาจ หน้าที่ของรัฐสภา

ด้านนิติบัญญัติ

1. การเสนอร่างกฎหมาย
1.1 การเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (มาตรา 139)
(1) คณะรัฐมนตรี
(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา มีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
(3) ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐ ธรรมนูญนั้น
1.2 การเสนอร่างพระราชบัญญัติ (มาตรา 142)
(1) คณะรัฐมนตรี
(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน
(3) ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรและกฎหมายที่ประธานศาลและประธานองค์กร นั้นเป็นผู้รักษาการ
(4) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า10,000 คนเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามมาตรา 163 (เฉพาะหมวด 3 และหมวด 5)


2. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประชาชนเสนอ (มาตรา 163 วรรคสี่)
2.1 สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต้องให้ผู้แทนของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นชี้แจงหลักการของร่างพระราชบัญญัติ
2.2 คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจะต้องประกอบด้วยผู้แทน ของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นจำนวน ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 จองจำนวนกรรมาธิการทั้งหมด

3. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย (หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ มาตรา 166 - 170)


4. การพิจารณาอนุมัติพระราชกำหนด
กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจควบคุมตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญขงพระราช กำหนดอย่างเคร่งครัด (มาตรา 185)

5. การให้ความเห็นชอบในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจาก (มาตรา 291 (1))
(1) คณะรัฐมนตรี
(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
(3) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
(4) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 คนตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
ประการสำคัญ การพิจารณาในวาระที่สอง ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อ เสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมด้วย










ควบคุมการบริหารราชการ แผ่นดิน

1. การรับทราบคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี
- คณะรัฐมนตรีต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาและชี้แจงการดำเนินการตามแนวโนบายพื้น ฐานแห่งรัฐ
- การจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติราชการแต่ละปี (มาตรา 176)

2. การตั้งกระทู้ถาม
ให้เป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่จะต้องเข้าร่วมประชุมสภาผู้ แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเพื่อชี้แจงหรือตอบกระทู้ถามในเรื่องนั้นด้วยตนเอง เว้นแต่มีเหตุจำเป็น (มาตรา 162 วรรคหนึ่ง)

3. การเปิดอภิปรายทั่วไป
3.1 การเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติ
(1) การเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภากรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็น สมควรจะฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาในกรณีที่มี ปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน (มาตรา 179)
(2) สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา เพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญ (มาตรา 161 วรรคหนึ่ง)






3.2 การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นราย บุคคล
(1) การเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถเปิดอภิปรายนายกรัฐมนตีร โดยใช้เสียง 1/5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 158 วรรคหนึ่ง)
(2) การเสนอญัตติของเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นราย บุคคล
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถเปิดอภิปรายรัฐมนตรี โดยใช้เสียง 1/6 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 159 วรรคหนึ่ง)
นอกจากนี้ เมื่อบริหารราชการแผ่นดินครบ 2 ปี ในกรณีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนเสียงไม่ถึงเกณฑ์ก็สามารถเปิดอภิปรายได้โดย ง่าย (มาตรา 160)

4. การตั้งคณะกรรมาธิการ
4.1 ประเภทของคณะกรรมาธิการ
(1) คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภา
(2) คณะกรรมาธิการวิสามัญ
(3) คณะกรรมาธิการร่วมกัน
(4) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
(5) คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา
(6) คณะกรรมาธิการตามมาตรา 121 ของรัฐธรรมนูญ
4.2 อำนาจของคณะกรรมาธิการในการออกคำสั่งเรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทำหรือใน เรื่องที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่นั้นได้ (มาตรา 135 วรรคสอง)








การให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญ

1. การให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (มาตรา 19)
2. การรับทราบหรือให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติ (มาตรา 23)
3. การให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม (มาตรา 189)
4. การให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญา (มาตรา 190)
4.1 กำหนดขอบเขตของหนังสือสัญญาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวางหรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา และรัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องดังกล่าว (มาตรา 190 วรรคสอง)
4.2 ก่อนดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญา คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและต้อง ชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้น และให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอควมเห็นชอบด้วย (มาตรา 190 วรรคสาม)
4.3 ให้มีกฎหมายว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและวิธีการจัดทำหนังสือสัญญา มาตรา 190 วรรคห้า)
4.4 ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่าหนังสือสัญญาใดจะต้องได้รับความ เห็นชอบของรัฐสภาหรือไม่ (มาตรา 190 วรรคหก)











การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง

1. ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่อาจถูกถอดถอนได้
ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด หรืออัยการสูงสุด
1) มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ
2) ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่
3) ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
4) สอ่ว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม
5) ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
6) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนผู้นั้นออกจากตำแหน่งได้ (มาตรา 270 วรรคหนึ่ง)

2. ผู้มีสิทธิเสนอเรื่อง
1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 271 วรรคหนึ่ง)
2) สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภาถอดถอนสมาชิกวุฒิสภา ออกจากตำแหน่งได้ (มาตรา 271 วรรคสอง)
3) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คน (มาตรา 164)









การให้ความเห็นชอบและการพิจารณาเลือก บุคคลให้ดำรงตำแหน่งในองค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ

1. อำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาในการให้ความเห็นชอบและการพิจารณาเลือกบุคคล
1.1 อำนาจหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบบุคคล
(1) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (มาตรา 206 (2))
(2) กรรมการการเลือกตั้ง (มาตรา 231 (4) และ (5))
(3) ผู้ตรวจการแผ่นดิน (มาตรา 243)
(4) กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (มาตรา 246 วรรคสาม)
(5) กรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (มาตรา 252 วรรคสาม)
(6) กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (มาตรา 256 วรรคห้า)
(7) เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (มาตรา 251 วรรคสอง)
(8) อัยการสูงสุด (มาตรา 255 วรรคสาม)

1.2 อำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเลือกบุคคล
(1) กรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 คน (มาตรา 221 (3))
(2) กรรมการตุลาการศาลปกครองผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 คน (มาตรา 226 (3))

2. การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการตรวจสอบประวติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมบุคคของวุฒิสภา (มาตรา 121)











ทำเนียบ ประธานรัฐสภา




๒๘. นายชัย ชิดชอบ
ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฏร
๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๑






๒๗.นายยงยุทธ ติยะไพรัช
ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฏร
๒๓ มกราคม ๒๕๕๑ - เมษายน ๒๕๕๑







๒๖.นายโภคิน พลกุล
ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฏร
๘ มีนาคม ๒๕๔๘ - ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙








๒๕.นายพิชัย รัตตกุล
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๓ - ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๓







๒๔.นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ - ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๓








๒๓.นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
๑๑ กรกฏาคม ๒๕๓๘ ๒๗ กันยายน ๒๕๓๘








๒๒.ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
๒๒ กันยายน ๒๕๓๕ - ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๓๘








๒๑.นายมีชัย ฤชุพันธ์
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
๒๘ มิถุนายน ๒๕๓๕ - ๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๕
ประธานวุฒิสภา
๒๘ มิถุนายน ๒๕๓๕ - ๒๑ มีนาคม ๒๕๓๙
๖ เมษายน ๒๕๓๙ - ๒๑ มีนาคม ๒๕๔๓








๒๐.ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
๔ พฤษภาคม ๒๕๓๒ - ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔








๑๙.ศาสตราจารย์อุกฤษ มงคลนาวิน
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
๓๐ เมษายน ๒๕๒๗ - ๓๐ เมษายน ๒๕๒๘
๑ พฤษภาคม ๒๕๒๘ - ๒๓ เมษายน ๒๕๓๐
๒๔ เมษายน ๒๕๓๐ - ๒๒ เมษายน ๒๕๓๒
๓ เมษายน ๒๓๓๕ - ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๓๕
ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
๒ เมษายน ๒๕๓๔ - ๒๑ มีนาคม ๒๕๓๕








๑๘.นายจารุบุตร เรืองสุวรรณ
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
๒๖ เมษายน ๒๕๒๖ - ๑๙ มีนาคม ๒๕๒๗








๑๗.พลอากาศเอก หะริน หุงสกุล
ประธานรัฐสภา และประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๙ - ๒๐ ตุลาคม ๒๕๒๐
ประธาน รัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๐ - ๒๒ เมษายน ๒๕๒๒
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
๙ พฤษภาคม ๒๕๒๒ - ๑๙ มีนาคม ๒๕๒๖








๑๖.พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ
ประธานที่ปรึกษาของ นายกรัฐมนตรี
ทำหน้าที่ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินและประธานรัฐสภา
๒๒ ตุลาคม ๒๕๑๙ - ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๑๙









๑๕.นายอุทัย พิมพ์ใจชน
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
๑๙ เมษายน ๒๕๑๙ - ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ - ๕ มกราคม ๒๕๔๘







๑๔.นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘ -๑๒ มกราคม ๒๕๑๙









๑๓.นายประภาศน์ อวยชัย
ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
๑๗ ตุลาคม ๒๕๑๗ - ๒๕ มกราคม ๒๕๑๘









๑๒.พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
ประธาน รัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
๒๙ ธันวาคม ๒๕๑๖ -๗ ตุลาคม ๒๕๑๗








๑๑.พลตรีศิริ สิริโยธิน
ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
๑๘ ธันวามคม ๒๕๑๕ - ๑๑ ธันวาคม ๒๕๑๖









๑๐.พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)
ประธาน รัฐสภา และประธานวุฒิสภา
๒๒ กรกฏาคม ๒๕๑๑ - ๖ กรกฏาคม ๒๕๑๔
๗ กรกฏาคม ๒๕๑๔ - ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔








๙. นายทวี บุญยเกตู
ประธานรัฐสภา และประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
๘ พฤษภาคม๒๕๑๑ -๒๐ มิถุนายน ๒๕๑๑








๘.พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ์ สุทธิสารรณกร)
ประธาน รัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
๒๐ กันยายน ๒๕๐๐ - ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๐
ประธาน รัฐสภา ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๒ - ๑๗ เมษายน ๒๕๑๑








๗.พลเอก พระประจนปัจนึก (พุก มหาดิลก)
ประธาน รัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
๑ ธันวาคม ๒๔๙๔ - ๑๗ มีนาคม ๒๔๙๕
๒๒ มีนาคม ๒๔๙๕ - ๒๓ มิถุนายน ๒๔๙๕
๒๘ มิถุนายน ๒๔๙๕ -๒๓ มิถุนายน ๒๔๙๖
๒ กรกฏาคม ๒๔๙๖ - ๒๓ มิถุนายน ๒๔๙๗
๒๙ มิถุนายน ๒๔๙๗ - ๒๓ มิถุนายน ๒๔๙๘
๒ กรกกาคม ๒๔๙๘ - ๒๓ มิถุนายน ๒๔๙๙
๓๐ มิถุนายน ๒๔๙๙ - ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐
๑๖ มีนาคม ๒๕๐๐ - ๒๓ มิถุนายน ๒๕๐๐
๒๘ มิถุนายน ๒๕๐๐ - ๑๖ กันยายน ๒๕๐๐
๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๐ - ๒๓ มิถุนายน ๒๕๐๑
๒๕ มิถุนายน ๒๕๐๑ - ๒๐ ตุลาคม ๒๕๐๑









๖. พันตรีวิลาศ โอสถานนท์
ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา
๔ มิถุนายน ๒๔๘๙ - ๒๔ สิงหาคม ๒๔๘๙








๕.พระยามานวราชเสวี (วิเชียร ณ สงขลา)
ประธาน รัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
๓ สิงหาคม ๒๔๗๙ - ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๐
๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๐ -๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๑
๒๘ มิถุยายน ๒๔๘๑ - ๑๐ ธันวามคม ๒๔๘๑
๑๒ ธันวาคม ๒๔๘๑ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๒
๒๘ มิถุนายน ๒๔๘๒ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๓
๑ กรกฏาคม ๒๔๘๓ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๔
๑ กรกฏาคม ๒๔๘๔ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๕
๓๐ มิถุนายน ๒๔๘๕ - ๒๔ มิถุนายน ๒๕๘๖
๒ กรกฏาคม ๒๔๘๗ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๘
๒๙ มิถุนายน ๒๔๘๘ - ๑๕ ตุลาคม ๒๔๘๘
๒๖ มกราคม ๒๔๘๙ - ๙ พฤษภาคม ๒๔๘๙








๔. เจ้าพระยาศรีธรรมมาธิเบศ (จิต ณ สงขลา)
ประธาน รัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
๒๒ กันยายน ๒๔๗๗ - ๑๕ ธันวาคม ๒๔๗๗
๑๗ ธันวาคม ๒๔๗๗ - ๓๑ กรกฏาคม ๒๔๗๘
๗ สิงหาคม ๒๔๗๘ - ๓๑ กรกฏาคม ๒๔๗๙
ประธาน รัฐสภา และประธานวุฒิสภา
๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ - ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๑
๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๑ - ๑๔ มิถุนายน ๒๔๙๒
๑๕ มิถุยายน ๒๔๙๒ - ๒๐ พศจิกายน ๒๔๙๓
๒๒ พฤศจิกายน ๒๔๙๓ - ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๔








๓.พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (พลเรือตรี กระแส ประวาหะนาวิน)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๖ - ๒๒ กันยายน ๒๔๗๗
๖ กรกฏาคม ๒๔๘๖ -๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๗
ประธาน รัฐสภา และประธานพฤฒสภา
๓๑ สิงหาคม ๒๔๘๙ - ๙ พฤษภาคม ๒๔๙๐
๑๕ พฤษภาคม ๒๔๙๐ - ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐









๒. เจ้าพระยาพิชัยญาติ
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
๒ กันยายน ๒๔๗๕ - ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๖









๑. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร
๒๘ มิถุนายน - ๑ กันยายน ๒๔๗๕
๑๕ ธันวาคม - ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๖





ที่ มา
วิกิพีเดีย
http://www.parliament.go.th











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น